ดูดไขมันอันตรายไหม? ดูดไขมัน เจ็บไหม? มีข้อควรรู้อะไรบ้างก่อนทำ?

น้ำใบบัวบก ลดบวมช้ำ ศัลยกกรม
[row padding=”30px 30px 30px 30px”] [col span__sm=”12″ align=”center”] [ux_text text_align=”left”]

สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีลดสัดส่วน ต้องการกระชับแขนที่หย่อนคล้อย หรืออยากลดปีกสะโพกด้านข้าง BAIJAI เชื่อว่า นอกจากการออกกำลังกายแล้ว การดูดไขมันต้องเป็นตัวเลือกหนึ่ง สำหรับงานนี้แน่ ๆ แต่บางท่านอาจยังมีข้อข้องใจว่า ดูดไขมันอันตรายไหม? แล้วดูดไขมัน เจ็บไหม? วันนี้ BAIJAI ชวนคุณมาหาคำตอบไปพร้อมกันค่ะ

ดูดไขมันอันตรายไหม? ทำไมหลายคนจึงอยากทำ?        


หลายคนอาจจะเคยได้ยิน ข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับการดูดไขมันมาบ้าง นั่นอาจทำให้เกิดคำถามว่า ดูดไขมันอันตรายไหม? จะดูดไขมันดีไหม? ถ้ามันเสี่ยงมาก ทำไมหลายคนจึงอยากทำ? ข้อเท็จจริงก็คือ ศัลยกรรมชนิดนี้มีทั้งข้อดีและมีความเสี่ยง ไม่ต่างกับการเสริมจมูก, การเสริมซิลิโคนทำหน้าอก หรือการผ่าตัดประเภทอื่น แต่อาจต้องอาศัยความชำนาญ, ประสบการณ์ของแพทย์ และความเชี่ยวชาญในการประเมินคนไข้ มากกว่าหัตถการเสริมความงามทั่วไป

[/ux_text] [ux_image id=”2047″ width=”40″] [ux_text text_align=”left”]

เพราะการดูดไขมัน (Liposuction) นอกจากจะได้ไขมันแล้ว ยังเป็นการดึงน้ำและเกลือแร่ ออกจากตำแหน่งที่ดูดแบบทันที และมีโอกาสเสียเลือดได้มาก ซึ่งหากไม่ได้เตรียมความพร้อมอย่างดี ไม่มีการชดเชยด้วยน้ำเกลือผสมพิเศษก่อนทำ อาจจะเกิดอันตรายร้ายแรงได้ ดังนั้นหากเลือกดูดไขมันในสถานพยาบาลที่มีมาตรฐาน เลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์ มีผลงานที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะดูดไขมันหน้าท้อง, ดูดไขมันต้นแขน, ดูดไขมันเหนียง ก็คงมีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยไม่ต่างกัน

สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนดูดไขมัน

การดูดไขมัน เป็นศัลยกรรมที่ช่วยลดไขมันส่วนเกินเฉพาะจุด แพทย์จึงมักแนะนำให้ทำในคนที่มีน้ำหนัก ไม่เกินกว่า 30% ของน้ำหนักอุดมคติ (Ideal Body Weight, IBW) เพราะหากน้ำหนักเกินเกณฑ์มาก การดูดไขมันอาจไม่ใช่วิธีรักษาที่เหมาะสม เพราะศัลยกรรมประเภทนี้ ทำเพื่อกระชับสัดส่วน เน้นให้เห็นส่วนโค้งเว้าที่ชัดเจน เน้นไฮไลต์กล้ามเนื้อ หวังผลเรื่องความสวยงาม ที่สำคัญคือ การดูดไขมัน ไม่ใช่การลดน้ำหนัก ไม่ใช่วิธีลดความอ้วน ถึงแม้จะดูดไขมันหน้าท้องออกไปได้ แต่ไขมันภายในช่องท้องยังคงอยู่ และนั่นคือสาเหตุหลักของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้การควบคุมอาหาร, การผ่าตัดกระเพาะอาหาร, การปรับพฤติกรรม จึงจะช่วยลดน้ำหนักได้ ไม่ใช่การดูดไขมันอย่างที่หลายคนเข้าใจ

คนที่เหมาะกับการดูดไขมัน

ดูดไขมันอันตรายไหมขึ้นอยู่กับว่า แพทย์ประเมินลักษณะของไขมัน และเลือกใช้เทคนิคการดูดไขมัน ได้เหมาะสมมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปนิยมทำในเคสที่มีปัญหาเหล่านี้ 

[/ux_text] [ux_image id=”2048″ width=”50″] [ux_text text_align=”left”]
  • คนที่มีรูปร่างสมส่วน แต่มีไขมันส่วนเกินบางจุด
  • คนที่พยายามลดด้วยวิธีอื่น ๆ แต่ไขมันยังคงสะสมอยู่
  • คนที่ต้นแขน ต้นขาเบียด จนทำให้ผิวหนังติดเชื้อ
  • มีไขมันสะสม หลังจากผ่าตัดรักษาโรคอ้วน
  • มีก้อนเนื้องอกไขมัน (Lipoma)
  • ไขมันสะสมจากการใช้อินซูลิน
  • ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย (Gynecomastia)
  • กลุ่มโรคที่ไขมันกระจายตัวผิดปกติ (Lipodystrophy syndromes)

การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน

  • ตรวจเลือดเบื้องต้น
  • ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากอายุเกิน 35 ปี
  • ถ้ามีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อน
  • หากใช้ยาแอสไพรินเป็นประจำ ควรสอบถามแพทย์ผู้สั่งยาก่อน
  • หยุดใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ (NSAIDs) 3 สัปดาห์ก่อนทำ
  • หยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ดูแลและบำรุงร่างกายให้พร้อม สำหรับการผ่าตัด
[/ux_text] [ux_image id=”2049″ width=”60″] [ux_text text_align=”left”]

ดูดไขมัน เจ็บไหม?

การดูดไขมัน สามารถทำได้ทั้งแบบใช้ยาเฉพาะที่และแบบวางยาสลบ ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่แพทย์จะเลือกใช้ และปริมาณไขมันที่ต้องการดูด ซึ่งบางกรณีจะมีการฉีดสารละลายพิเศษที่ผสมยาชากับน้ำเกลือ, ยาห้ามเลือด และเกลือแร่ เข้าสู่ตำแหน่งที่จะดูดไขมันก่อน หรือบางท่านอาจให้ยานอนหลับ ยาคลายกังวลอ่อน ๆ ซึ่งจะช่วยให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะทำ ถึงแม้ไม่ได้วางยาสลบก็ตาม ดังนั้นถ้าถามว่าดูดไขมัน เจ็บไหม? หากทำในสถานพยาบาลที่มีมาตรฐาน มีวิสัญญีแพทย์ดูแล ก็ไม่ต้องกังวลใจเรื่องนี้เลยค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนหลังดูดไขมัน

ดูดไขมันอันตรายไหม ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับว่า เรารู้จักอาการแทรกซ้อนหลังดูดไขมัน ดีแค่ไหน? สามารถสังเกตความผิดปกติ ได้ตั้งแต่ช่วงแรกหรือไม่? ซึ่งถ้าทำได้ ก็จะมีโอกาสลดผลกระทบลงได้มาก

  • แผลบวมช้ำขนาดใหญ่
  • มีสารน้ำคั่ง (Seroma)
  • รู้สึกชาบริเวณที่ดูดไขมัน
  • ผิวหนังตำแหน่งที่ดูดเป็นคลื่น
  • แผลผ่าตัดติดเชื้อ ทั้งภายในและบริเวณผิวหนัง
  • อวัยวะภายในฉีกขาด จากการดูดไขมันหน้าท้อง
  • มีก้อนไขมัน หรือลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด
  • ได้รับยาชาเกินขนาด

หลังจากดูดไขมัน พักฟื้นกี่วัน?        

หากเป็นการดูดไขมันหน้าท้อง, สะโพก, ต้นขา, เอวในช่วง 3-5 วันแรก อาจขยับตัวลำบาก บริเวณที่ดูดไขมันบวมมาก ทำให้รู้สึกปวดตึงได้มาก จึงอาจต้องมีเวลาพักอย่างน้อย 5-10 วัน แต่ถ้าดูดไขมันที่ตำแหน่งไม่ใหญ่ อย่างใต้คาง, หลังคอ, นมน้อย อาจใช้เวลาเพียงแค่ 3 วันก็เริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่รอยช้ำอาจอยู่ได้นานอีกเป็นสัปดาห์ และอาจต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน

การดูแลตัวเองหลังดูดไขมัน

ดูดไขมัน พักฟื้นกี่วัน จะต้องพักนานไหม จะมีอาการบวมช้ำนานหรือเปล่า แล้วดูดไขมันอันตรายไหม ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับ ความใส่ใจในการดูแลตัวเองเป็นสำคัญ

  • ถ้ามีอาการปวดมาก โดยเฉพาะช่วงแรกหลังทำ สามารถทานยาแก้ปวดได้
  • ควรเริ่มขยับร่างกาย ตั้งแต่หลังดูดไขมันวันแรก เพื่อป้องกันลิ่มเลือดและก้อนไขมันอุดตันในเส้นเลือดดำ
  • สวมชุดกระชับหลังดูดไขมัน เพื่อลดอาการบวมและรอยช้ำตลอด 24 ชม. อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • อาบน้ำได้ตั้งแต่ 1-2 วันหลังทำ แต่ห้ามแผลโดนน้ำเด็ดขาด
  • อาการบวมช้ำ อาจอยู่ได้นาน 7-14 วัน สามารถทานสมุนไพรลดบวมอักเสบ ร่วมกับการประคบเย็นในช่วงแรก และประคบอุ่นหลังจากนั้น
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนัก 4-6 สัปดาห์ โดยเฉพาะหลังดูดไขมันหน้าท้องและเอว

ใบบัวบก สมุนไพรลดบวมอักเสบ เร่งยุบบวมหลังดูดไขมัน

ดูดไขมันอันตรายไหม? ดูดไขมัน เจ็บไหม? คงขึ้นอยู่กับว่า คุณดูแลตัวเองหลังดูดไขมันอย่างไร? ซึ่งหากเลือกเยียวยาร่างกาย ด้วยน้ำสมุนไพรลดบวมอักเสบ อย่างน้ำใบบัวบก BAIJAI ก็จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะสารสำคัญหลายชนิดในใบบัวบก จะช่วยลดอักเสบ, ลดบวมช้ำ, ช่วยเติมเต็มผิวที่เสื่อมสภาพ และกระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้นได้

[/ux_text] [ux_image id=”1453″ width=”60″] [ux_text text_align=”left”]

นอกจากนี้ผลการศึกษาเกี่ยวกับไขมันเซลลูไลท์ ที่ตีพิมพ์ใน Journal of the European Academy of Dermatology and Venereology ยังแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากใบบัวบกช่วยเร่งสลายไขมันได้ โดยเมื่อทานสารสกัดจากใบบัวบกวันละ 60 กรัม นาน 90 วัน จะทำให้ขนาดของเซลล์ไขมัน (Adipocytes) เล็กลงอย่างมีนัยสำคัญ และยังลดจำนวนพังผืดที่รัดก้อนไขมัน จนทำให้เห็นเป็นผิวเปลือกส้มได้อีกด้วย ซึ่งสังเกตเห็นชัดเจนที่สุดบริเวณสะโพกและต้นขา ทั้งแก้อักเสบ, ลดบวมช้ำ, เร่งให้แผลหาย แล้วยังช่วยสลายไขมันได้ด้วย จะมีใครดูแลคุณหลังดูดไขมัน ได้ดีกว่าใบบัวบกอีกไหมคะ?   

สรุป

ความเสี่ยงของการศัลยกรรมทุกชนิด เป็นเรื่องที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจทำ ซึ่งสำหรับคำถามที่ว่า ดูดไขมันอันตรายไหม? แล้วดูดไขมัน พักฟื้นกี่วัน? ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความรู้ มีการเตรียมพร้อมก่อนดูดไขมันมาดีแค่ไหน เลือกสถานพยาบาลและแพทย์ได้เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งหากคำตอบคือใช่ ก็สามารถคลายกังวล และรอดื่มด่ำกับรูปร่างที่ปรารถนาได้เลย ซึ่งตัวช่วยหนึ่งที่จะช่วยให้แผลยุบบวมเร็วขึ้น รอยช้ำจางลง ช่วยสลายไขมัน ทำให้รูปร่างเข้าที่ได้เร็วนั้น คงต้องเป็นสมุนไพรลดบวมอักเสบจากธรรมชาติ อย่างน้ำใบบัวบกใบใจ ซึ่งอาจเสริมด้วยน้ำฟักทองใบใจ ก็จะช่วยให้ฟื้นตัวได้ไว สวยได้เร็วตามที่ต้องการเลยค่ะ

[/ux_text] [/col] [/row] [row col_bg=”rgb(236, 236, 236)” padding=”30px 30px 30px 30px”] [col span__sm=”12″]

อ้างอิงจาก

[1]   Kenkel JM, Stephan PJ. Liposuction: A comprehensive review of techniques and safety. Neligan PC, Warren R, editors). Plastic Surgery. 3rd ed. London: Elsevier Saunders; 2013. p. 507 – 529.

[2]   Pacifico M, Kanapathy M, Dancey A, MacQuillan A, Ross G, Mosahebi A. Summary document on safety and recommendations for aesthetic liposuction [Internet]. London: British Association of Aesthetic Plastic Surgeons. Royal College of Surgeons of England; 2021 [cited 2021 Nov 4]. Available from: http://www.jprasurg.com

[3]   Bellini E, Grieco MP, Raposio E. A journey through liposuction and liposculture: Review. Ann Med Surg (Lond). 2017 Nov 6;24:53-60. doi: 10.1016/j.amsu.2017.10.024. PMID: 29158895; PMCID: PMC5681335.

[4]   Chia CT, Neinstein RM, Theodorou SJ. (2017). Evidence-Based Medicine: Liposuction. Plastic and Reconstructive Surgery. 139. 267e-274e. 10.1097/PRS.0000000000002859.

[5]   Rossi, Ana & Vergnanini, Andre. (2000). Cellulite: A review. Journal of the European Academy of Dermatology and Venereology : JEADV. 14. 251-62. 10.1046/j.1468-3083.2000.00016.x.

 

[/col] [/row]